คำว่าเครื่องออกกำลังกายนั้นคงมีความหมายชัดเจนในตัวของมันอยู่แล้ว โดยขณะที่เครื่องกีฬานั้น ย่อมหมายถึงว่าเราสามารถนำมันไปใช้ในการแข่งขันได้อย่างไม่เสียเปรียบใคร ซึ่งสื่อความหมายง่ายๆโดยตัวของมันเองว่า ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่างๆโดยรวม จะต้องสูงกว่าจักรยานในระดับเครื่องออกกำลังกายอย่างแน่นอน
การที่ต้องจัดกลุ่มของเสือภูเขาเป็น 2 ระดับนั้น ก็เพราะประสิทธิภาพของมันแตกต่างกันพอสมควร คุณจะต้องคิดเองว่าจะซื้อมันมาทำอะไร ถ้าคิดว่าจะเอามันมาเป็นแค่เครื่องมือออกกำลังกาย สำหรับวงเงินไม่เกิน15,000บาท ก็คงเพียงพอแล้วสำหรับวัตถุประสงค์ของคุณจักรยานในวงเงินระดับนี้จะให้อุปกรณ์ในระดับพื้นฐาน อาทิเช่น เกียร์จะเป็น 21-24 เกียร์อาจจะไม่มีระบบรองรับการสั่นสะเทือน (shock absorber หรือ suspension) ซึ่งบ้านเรานิยมเรียกกันผิดๆติดปากว่า"โช้คอัพ" โดยจะให้ตะเกียบแข็งมา ในรุ่นที่สูงขึ้นมาอีกนิดก็อาจจะให้เฉพาะด้านหน้า ( front suspension bike ) ซึ่งจะเป็นชอครุ่นล่างๆ เมื่อนำจักรยานทั้งคันมาชั่งน้ำหนักรวม ก็อาจจะป้วนเปี้ยนแถวๆ13-14 กก.หรืออาจจะมากกว่านั้นเสียด้วยซ้ำ แต่ก็เพียงพอสำหรับการจะนำมาใช้ออกกำลังกายตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี คราวนี้เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเสือภูเขาที่ผมจัดให้อยู่ในระดับเครื่องกีฬาแล้ว คุณก็จะพบว่า มันมีความแตกต่างกันโดยรวมค่อนข้างมากหรือถึงขั้นที่เรียกว่าแตกต่างกันมาก นับตั้งแต่น้ำหนักที่เบากว่า จุดหมุนที่ลื่นกว่า ระบบเกียร์ที่ปรับเปลี่ยนได้ราบรื่นกว่า และอะไรอีกหลายอย่างที่ดีกว่า และแน่นอนสนนราคาย่อมจะสูงกว่า แล้วยังแบ่งระดับได้อีกหลายระดับ ในราคาตั้งแต่2หมื่นกว่าไปยันหลักแสน ระบบกันสะเทือนด้านหน้าที่ดีขึ้นหรืออาจจะเพิ่มเป็นทั้งหน้าและหลัง ( full suspension bike ) หากเปรียบเทียบกับชุดไม้กอล์ฟก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก ไม้กอล์ฟเองยังขี่ไม่ได้ด้วยซ้ำไป
หลังจากที่พบความแตกต่างระหว่างเครื่องออกกำลังกาย กับ เครื่องกีฬา อาจจะโดยการศึกษาจากสื่อ หรือ ได้ลองรถของเพื่อนที่ใช้จักรยานรุ่นสูงกว่า ทำให้หลายคนทีเดียวที่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นสำหรับจักรยานคันใหม่ หรือ อุปกรณ์ส่วนควบชิ้นใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม( แน่นอน! ราคาต้องสูงขึ้นแน่ ) เนื่องจากได้ถลำใจและกายเข้ามาเล่นกับกีฬาประเภทนี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว อาจจะเสียเงินเปลี่ยนหรือupgradeอุปกรณ์ต่างๆไปเรื่อย จนอุปกรณ์ที่ติดมากับรถคันแรกได้ถูกเปลี่ยนไปหมด คงเหลือแต่เฟรมเดิมเท่านั้น พอมาถึงตอนนี้ถ้าสามารถย้อนเวลากลับหลังไปได้ หลายต่อหลายคนรวมทั้งผมเองก็คงจะยอมเสียเงินซื้อจักรยานดีๆไปเสียแต่แรกซะเลย จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียเงิน เสียเวลาซ้ำๆซากๆในการมาเปลี่ยนรถใหม่ หรืออุปกรณ์ติดรถใหม่ในภายหลัง แต่เมื่อมาลองคิดดูอีกที ก็จะพบว่า น้อยคนนักที่จะกล้าทุ่มเงินมากๆขนาดนั้นกับอุปกรณ์กีฬา ที่มี "2ล้อ" คล้ายๆหรือใกล้เคียงกับ "ยานพาหนะจ่ายตลาด"โดยที่ไม่เคยได้ลองสัมผัสมันกับตัวเองเสียก่อน บางคนก็มักจะบอกว่า เผื่อไม่ชอบ หรือเบื่อมันจะได้ไม่ต้องเสียเงินไปปล่าวๆ ( ทั้งๆที่มีความสามารถจะจ่ายเงินมากๆขนาดนั้นได้โดยไม่สะเทือนขนหน้าแข้งด้วยซ้ำไป , ทีเสียเงินไปกับสิ่งที่ไร้ประโยชน์กลับทำได้โดยไม่รู้สึกรู้สา )แล้วแบบนี้จะเข้าข่าย"เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"หรือเปล่าหนอ?
ในกลุ่มที่ขี่จักรยานด้วยกันมา หลายต่อหลายคนทีเดียว(รวมทั้งผมด้วย) ที่เริ่มต้นด้วยรถระดับล่างๆ แล้วต่อมาก็ต้องมาเสียเงินเปลี่ยนเป็นรถระดับสูงขึ้น อุปกรณ์ดีขึ้น ซึ่งไม่ควรจะไปคิดว่านั่นเป็นการอวดร่ำอวดรวยเที่ยวไปซื้อรถแพงๆมาประกวดประขันกัน เพราะแทบทุกคนที่ผมรู้จักล้วนแต่ซื้อเอามาเพื่อขี่ทั้งสิ้น(อาจจะมีคนบางคนบางประเภทที่ซื้อมาเก็บโชว์บ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนประเภทนั้น) ดูอย่างพวกเสี่ยหรือเถ้าแก่แถวจังหวัดที่ผมทำงานอยู่สิครับ ผมเองก็เคยคิดว่าพวกนี้คงจะซื้อเอามาอวดกันว่าของใครแพงกว่ากันแต่ในความเป็นจริงก็พบว่าเสี่ยและเถ้าแก่เหล่านี้ ยังเอามันมาปั่นออกกำลังกาย แล้วบางคนซื้อมาเพียง 2 เดือนยังปั่นได้ระยะทางรวมกว่า 2,000 กม ซึ่งยังมากกว่าระยะทางในปีแรกของผมเสียอีก
ในกลุ่มที่ขี่จักรยานด้วยกันมา หลายต่อหลายคนทีเดียว(รวมทั้งผมด้วย) ที่เริ่มต้นด้วยรถระดับล่างๆ แล้วต่อมาก็ต้องมาเสียเงินเปลี่ยนเป็นรถระดับสูงขึ้น อุปกรณ์ดีขึ้น ซึ่งไม่ควรจะไปคิดว่านั่นเป็นการอวดร่ำอวดรวยเที่ยวไปซื้อรถแพงๆมาประกวดประขันกัน เพราะแทบทุกคนที่ผมรู้จักล้วนแต่ซื้อเอามาเพื่อขี่ทั้งสิ้น(อาจจะมีคนบางคนบางประเภทที่ซื้อมาเก็บโชว์บ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนประเภทนั้น) ดูอย่างพวกเสี่ยหรือเถ้าแก่แถวจังหวัดที่ผมทำงานอยู่สิครับ ผมเองก็เคยคิดว่าพวกนี้คงจะซื้อเอามาอวดกันว่าของใครแพงกว่ากันแต่ในความเป็นจริงก็พบว่าเสี่ยและเถ้าแก่เหล่านี้ ยังเอามันมาปั่นออกกำลังกาย แล้วบางคนซื้อมาเพียง 2 เดือนยังปั่นได้ระยะทางรวมกว่า 2,000 กม ซึ่งยังมากกว่าระยะทางในปีแรกของผมเสียอีก
เราจึงไม่ควรจะคิดว่า คนส่วนใหญ่เขาจะซื้อมาเก็บ หรือเอามาอวดกัน เพราะจริงๆแล้วนั่นเป็นคนส่วนน้อยเท่านั้น เชื่อผมเถอะครับว่าถ้าได้เข้ามาสัมผัสกับมันแล้วน้อยคนนักที่จะเลิกมันไปเสียกลางคัน ขนาดบางคนล้มแขนหักไหปลาร้าหัก พอหมอบอกว่าเอาเฝือกออกแล้วปั่นได้ ยังกลับมาปั่นใหม่เลย ไม่เข็ดหรอกครับ ผมเองก็เคยเจ็บหนักๆ พอผ่าเอาเหล็กออกผมก็ยังกลับมาซ่าส์อีกแถมหนักกว่าเก่าด้วย มันคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลงไหลได้ปลื้มในเสน่ห์ของมันแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อได้มาร่วมปั่นกับกลุ่มคนที่มีรสนิยมเหมือนๆกันเกิดเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นหมู่ชนที่รักจักรยานเหมือนกัน ยิ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจให้อยากปั่นมันมากขึ้นลองเข้ามาสัมผัสกับมันสิครับ แล้วคุณจะเข้าใจ
คราวนี้ก็คงถึงบทของคุณแล้วหละครับ ที่จะต้องตัดสินใจเองว่าจะเลือกซื้อจักรยานแบบใด ซึ่งผมคงจะช่วยแนะนำให้ได้บ้างดังนี้
1. เลือกซื้อจักรยานตามกำลังทรัพย์ที่คุณสามารถจะจ่ายได้โดยไม่เดือดร้อนต่อความเป็นอยู่ พูดง่ายๆว่า เลือกซื้อตามอัตตภาพของคุณ อย่าซื้อจักรยานที่ต่ำเกินกว่าอัตตภาพที่คุณสามารถจ่ายได้ ( เพราะนั่นหมายถึงว่าคุณมีแนวโน้มจะต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่กว่าเก่าเพื่อซื้อจักรยานที่แพงขึ้นไปอีกในภายหลัง , ไม่เชื่อก็ลองดูสิครับ )
2. ทำความรู้จักกับร้านจักรยานเสียก่อน อย่าเพิ่งรีบเสียเงินซื้อในครั้งแรกที่เห็นเพราะคนขายจักรยานมีหลายประเภท บางรายอาจจะเป็นพ่อค้าเต็มรูปแบบ ตั้งหน้าจะขายอย่างเดียว เชียร์สินค้าของตัวเองอย่างออกหน้าออกตาหรือพยายามยัดเยียดรถที่มีอยู่ในร้านให้คุณซื้อให้จงได้ ถ้าไปเจอกับร้านค้าประเภทนี้ แนะนำให้ว่า"ควรจะส่งยิ้มให้เจ้าของร้านงามๆ และถอยหลังออกมาโดยไม่ต้องพูดอะไรให้มากความ"
ลักษณะของร้านค้าที่จะแนะนำให้ซื้อจักรยานนั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้- ยินดีรับฟังจุดประสงค์ของเรา- สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับจักรยานและอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วยความเต็มใจ ทั้งวิธีการใช้งานรวมไปถึงปัญหาต่างๆ- ให้เราได้มีโอกาสลองรถทุกๆคันที่เราปรารถนาจะซื้อได้ และร้านที่ดีจะไม่เชียร์หรือยัดเยียดให้ลูกค้าซื้อรถของตัวเองอย่างบ้าเลือด แต่พยายามให้ลูกค้าได้รถที่เหมาะสมกับตัวลูกค้าเอง ทั้งได้ขนาดตามสัดส่วนของตัวผู้ขับขี่ และได้ตามวัตถุประสงค์ ถึงแม้เราจะไม่เสียเงินซื้อในตอนนั้น ก็จะไม่รู้สึกหงุดหงิด (เพราะต้องเผื่อใจว่าเงินขนาดนั้น ไม่ใช่ว่าใครจะยอมจ่ายง่ายๆถ้ามันไม่เหมาะสมให้จ่าย)- เป็นร้านค้าที่มีบริการหลังขายอย่างครบวงจร เพราะเสือภูเขาไม่ใช่จักรยานจ่ายตลาด มันยังมีอุปกรณ์อีกหลายชิ้นซึ่งอาจจะไม่สามารถดูแลหรือปรับแต่งมันได้ด้วยตัวคุณเอง ดังนั้นการที่จะซื้อจักรยานลดราคาตามห้างสรรพสินค้าจึงเป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง เพราะถึงจะลดราคาอย่างไรก็ยังไม่ถูกไปกว่าร้านค้าลดให้คุณและที่สำคัญคุณจะต้องดิ้นรนไปหาบริการหลังขายเอาเองลำบากดีไหมหละครับ
ลักษณะของร้านค้าที่จะแนะนำให้ซื้อจักรยานนั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้- ยินดีรับฟังจุดประสงค์ของเรา- สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับจักรยานและอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วยความเต็มใจ ทั้งวิธีการใช้งานรวมไปถึงปัญหาต่างๆ- ให้เราได้มีโอกาสลองรถทุกๆคันที่เราปรารถนาจะซื้อได้ และร้านที่ดีจะไม่เชียร์หรือยัดเยียดให้ลูกค้าซื้อรถของตัวเองอย่างบ้าเลือด แต่พยายามให้ลูกค้าได้รถที่เหมาะสมกับตัวลูกค้าเอง ทั้งได้ขนาดตามสัดส่วนของตัวผู้ขับขี่ และได้ตามวัตถุประสงค์ ถึงแม้เราจะไม่เสียเงินซื้อในตอนนั้น ก็จะไม่รู้สึกหงุดหงิด (เพราะต้องเผื่อใจว่าเงินขนาดนั้น ไม่ใช่ว่าใครจะยอมจ่ายง่ายๆถ้ามันไม่เหมาะสมให้จ่าย)- เป็นร้านค้าที่มีบริการหลังขายอย่างครบวงจร เพราะเสือภูเขาไม่ใช่จักรยานจ่ายตลาด มันยังมีอุปกรณ์อีกหลายชิ้นซึ่งอาจจะไม่สามารถดูแลหรือปรับแต่งมันได้ด้วยตัวคุณเอง ดังนั้นการที่จะซื้อจักรยานลดราคาตามห้างสรรพสินค้าจึงเป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง เพราะถึงจะลดราคาอย่างไรก็ยังไม่ถูกไปกว่าร้านค้าลดให้คุณและที่สำคัญคุณจะต้องดิ้นรนไปหาบริการหลังขายเอาเองลำบากดีไหมหละครับ
3. เลือกซื้อรถจักรยานได้ถูกต้องตามขนาดสัดส่วนของคุณเอง ไม่เล็กเกินไป หรือ ไม่ใหญ่เกินไป ( ข้อนี้ถือว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง )
4. ประเด็นอื่นๆที่เหลือที่คุณจะต้องตัดสินใจเองก็ได้แก่ การเลือกยี่ห้อ วัสดุที่นำมาทำโครงจักรยาน สีที่ชอบ รวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์ติดตั้งที่เหมาะสมคุ้มค่าราคา ซึ่งสามารถปรึกษาได้จากร้านค้าที่คุณไว้ใจ
5. เจียดเงินไว้อีกก้อนหนึ่งสำหรับอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ซึ่งอย่างแรกที่จะแนะนำก็คือ หมวกกันกระแทกเพราะว่าเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่จะต้องมี นอกจากนี้ก็ควรจะซื้อถุงมือจักรยาน กางเกงจักรยาน กระติกน้ำและหูยึด ซึ่งสามารถขอคำแนะนำได้กับร้านค้าที่คุณซื้อรถนั่นแหละ
Source : Bikeloves
No comments:
Post a Comment