หลวงพระบางเป็นเมืองในหุบเขา มองจากทางอากาศลงมาสวยเหมือนแม่ฮ่องสอนและเชียงราย จากเครื่องบินจะเห็นตัวเมืองเล็กๆ กระจุกหนึ่งตั้งอยู่อย่างสงบท่ามกลางแวดล้อมของหุบเขาซึ่งเป็นปราการธรรมชาติอย่างดี บนชัยภูมิอันงดงาม ในจุดที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกัน และตรงหัวโค้งของปากน้ำคานที่มาสบกับน้ำโขงนั้นนั้นเป็นที่ตั้งของอารามหลวงสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นที่สุดของเมืองคือ วัดเซียงทอง หรือ วัดเชียงทอง
วัดงามศิลปะแบบหลวงพระบางขนานแท้ที่ใครได้แลเห็นก็จะต้องประทับใจ และจำติดตาตรึงอยู่ในความทรงจำไปตลอดกาล …
หลวงพระบาง แต่ดั้งเดิมนั้นเป็นเมืองโบราณ เคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำคาน และแม่น้ำอู มาก่อน ในอดีตเป็นราชธานีที่รุ่งเรืองและเฟื่องฟูที่สุดของอาณาจักรล้านช้าง
หลวงพระบาง แต่ดั้งเดิมนั้นเป็นเมืองโบราณ เคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำคาน และแม่น้ำอู มาก่อน ในอดีตเป็นราชธานีที่รุ่งเรืองและเฟื่องฟูที่สุดของอาณาจักรล้านช้าง
หลวงพระบาง ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่งดงาม และมีเสน่ห์ในศิลปะของสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียม ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองที่เรียบง่ายงดงามไม่ฟุ้งเฟ้อ และยึดมั่นศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมากจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้องค์การยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และตั้งแต่นั้นมา ใครๆ ที่ยังไม่ค่อยรู้จักลาวก็เลยอยากไปเที่ยวหลวงพระบางสักครั้งหนึ่งในชีวิต คนที่จะเที่ยวหลวงพระบางได้สนุกกว่าใครก็คือพวกที่สนใจทางด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ไทย-ลาว แต่ถึงไม่รู้ก็ไม่เป็นไรหรอกนะคะเพราะสามารถไปพูดคุยไถ่ถามเรื่องราวเอาจากคนท้องถิ่นที่แสนจะน่ารัก ใจดีและเป็นมิตรพอ ๆ กับคนอีสานบ้านเฮานี่เอง
แนะนำให้เลือกไปหลวงพระบางตอนอากาศเย็นระหว่างเดือน พ.ย.-ก.พ.จะดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ปลอดฝน อุณหภูมิตอนเช้าแค่ 10 กว่าองศา ถึงจะมีคนไปเที่ยวช่วงนั้นมากหน่อย แต่ก็เดินเที่ยวได้สบายไม่ร้อนจัดเหมือนเดือนเมษายน และก่อนจะไปขอให้เตรียมกำลังขาไว้ให้ดีสำหรับ เดิน เดิน เดิน และเดิน
เพราะการเดินเท้าเที่ยวไปตามถนนสายต่างๆในเมืองหลวงเก่าแก่เล็กๆ แห่งนี้เหมาะที่สุด หลวงพระบาง เป็นเมืองเล็กๆ มีประชากรเบาบางแค่ไม่เกิน 4 แสนคนเท่านั้น เมื่อกางแผนที่ออกจะมีถนนสายหลักอยู่ไม่กี่สาย และที่เป็นถนนสายสำคัญคือถนนโพธิสารราชที่พาดผ่านสถานที่สำคัญที่สุดของเมืองคือ พิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวง วัดใหม่สุวรรณพูมาราม วัดป่าฮวก ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเขาที่มีบันไดทอดขึ้นไปยังวัดพระธาตุพูสีสูงกว่า 150 เมตรใจกลางเมือง และถนนสายเดียวกันนี้ก็ยังทอดผ่านวัดพระบาทใต้ วัดแสน ก่อนจะนำเราเลี้ยวโค้งตรงปากน้ำคานสบกับน้ำโขงไปพบกับวัดเซียงทอง อันสุดแสนจะงดงามอลังการ
เพราะการเดินเท้าเที่ยวไปตามถนนสายต่างๆในเมืองหลวงเก่าแก่เล็กๆ แห่งนี้เหมาะที่สุด หลวงพระบาง เป็นเมืองเล็กๆ มีประชากรเบาบางแค่ไม่เกิน 4 แสนคนเท่านั้น เมื่อกางแผนที่ออกจะมีถนนสายหลักอยู่ไม่กี่สาย และที่เป็นถนนสายสำคัญคือถนนโพธิสารราชที่พาดผ่านสถานที่สำคัญที่สุดของเมืองคือ พิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวง วัดใหม่สุวรรณพูมาราม วัดป่าฮวก ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเขาที่มีบันไดทอดขึ้นไปยังวัดพระธาตุพูสีสูงกว่า 150 เมตรใจกลางเมือง และถนนสายเดียวกันนี้ก็ยังทอดผ่านวัดพระบาทใต้ วัดแสน ก่อนจะนำเราเลี้ยวโค้งตรงปากน้ำคานสบกับน้ำโขงไปพบกับวัดเซียงทอง อันสุดแสนจะงดงามอลังการ
ระหว่างทางเดินเที่ยวชมวัดเหล่านี้ซึ่งยาวเหยียดหลายกิโลเมตรอยู่ ก็จะมีบ้านเรือนผู้คน ร้านรวงเล็กๆน้อยๆ เปิดขายอาหาร ของที่ระลึก รวมทั้งที่จัดทำขึ้นเป็นเกสต์เฮาส์เรียงรายไปตลอด โดยเฉพาะบนถนนเลียบแม่น้ำคาน ซึ่งคู่ขนานอยู่กับถนนโพธิสารราชสายหลักนั้น มีร้านอาหารริมน้ำน่านั่งอยู่เป็นระยะๆ ถ้าหากมีเวลาก็จะสามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศริมน้ำอันร่มรื่นได้อย่างเพลิดเพลิน และถ้าหากนั่งลงเมื่อไหร่ ขอแนะนำให้สั่ง “ไคแผ่น” หรือสาหร่ายน้ำจืดทอดกรอบแบบหลวงพระบางมาแกล้มกับเบียร์ลาว รับรองอร่อยเด็ด … ตอนที่ไปเที่ยวนั้น Rose มาลี พักที่โรงแรมพูว่าวซึ่งถือเป็นโรงแรมในระดับหรูแห่งหนึ่งของหลวงพระบาง ตั้งอยู่บนเนินสูง มองลงไปเห็นทิวทัศน์เมืองหลวงพระบางเกือบทั้งเมือง มีสระว่ายน้ำด้วยนะ และอยู่ใกล้ๆกับตลาดเวียงใหม่ให้เดินเที่ยวอีกต่างหาก
ความสุขตอนเช้าตรู่คือการออกไปเดินเล่นรับอากาศสะอาดสดชื่น ลงเนินทอดน่องไปเรื่อย จุดหมายปลายทางคือตลาดเช้าซึ่งจะจอแจด้วยผู้คนตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง
ได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของพืชผักที่เขียวสด อวบอิ่มน่าลิ้มชิมเป็นที่สุด มีไคแผ่นขายเป็นถุงๆสำหรับซื้อกลับบ้านเป็นของฝากด้วย
พอแสงเงินแสงทองเริ่มทอประกาย พระสงฆ์และสามเณรนับสิบรูปก็เดินอุ้มบาตรเรียงแถวออกมาบิณฑบาตรในแสงอุษาอันมลังเมลืองอย่างสงบงาม และเรียกศรัทธาได้อย่างเปี่ยมล้น เป็นภาพที่เคยมีในวีถีชนบทไทยเมื่ออดีต แต่เดี๋ยวนี้หาดูได้ยากยิ่ง ไปถึงหลวงพระบางแล้วไม่ควรพลาดโอกาสร่วมใส่บาตรตอนเช้ากับชาวบ้านนะคะ
ได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของพืชผักที่เขียวสด อวบอิ่มน่าลิ้มชิมเป็นที่สุด มีไคแผ่นขายเป็นถุงๆสำหรับซื้อกลับบ้านเป็นของฝากด้วย
พอแสงเงินแสงทองเริ่มทอประกาย พระสงฆ์และสามเณรนับสิบรูปก็เดินอุ้มบาตรเรียงแถวออกมาบิณฑบาตรในแสงอุษาอันมลังเมลืองอย่างสงบงาม และเรียกศรัทธาได้อย่างเปี่ยมล้น เป็นภาพที่เคยมีในวีถีชนบทไทยเมื่ออดีต แต่เดี๋ยวนี้หาดูได้ยากยิ่ง ไปถึงหลวงพระบางแล้วไม่ควรพลาดโอกาสร่วมใส่บาตรตอนเช้ากับชาวบ้านนะคะ
แวะซื้อของจากตลาดสดร่วมใส่บาตรกับคนแถวนั้นที่นั่งคุกเข่ารอคิวพระอย่างเป็นระเบียบ จากนั้นก็เรียกรถสามล้อเครื่องให้ไปส่งที่ วัดเซียงทอง เพราะเช้านั้นเวลามีไม่มากพอที่จะเดินเล่นไปไกลถึงขนาดนั้น และที่สำคัญแสงอาทิตย์ยามอรุณก็ไม่รอท่าใครเสียด้วย
ใครอยากเห็นและเก็บภาพแสงสีทองเหลืองอร่ามสาดส่องพระอุโบสถที่แสนงามในตอนเช้าตรู่ของวันที่อากาศดีๆ ก็ต้องตื่นแต่เช้าๆ และมุ่งหน้าไปเที่ยววัดกันเลยทีเดียว ไม่อย่างนั้นพอแดดแรงขึ้นก็จะไม่ได้ภาพที่สวยงามและนุ่มนวลอย่างที่ควรจะเป็น แถมยังจะร้อน ทำให้ไม่อยากอยู่กลางแจ้ง
...
...
วัดเซียงทอง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีลานวัดกว้างขวาง ดูเงียบสงบในยามเช้าตรู่ พระอุโบสถแบบล้านช้างโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลางหอพระและหอระฆังรายรอบ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถเป็นแบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภาและทับซ้อนลดหลั่นถึงสามชั้น ลาดลงต่ำลงมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย แต่เมื่อดูองค์ประกอบโดยรวมแล้วกลับได้สัดส่วนสวยงามเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวอย่างยิ่ง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถเป็นแบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภาและทับซ้อนลดหลั่นถึงสามชั้น ลาดลงต่ำลงมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย แต่เมื่อดูองค์ประกอบโดยรวมแล้วกลับได้สัดส่วนสวยงามเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวอย่างยิ่ง
ภายในพระอุโบสถมีเสาไม้สักขนาดมหึมา 8 ต้นปิดทองล่องชาดอย่างงดงามสำหรับรองรับน้ำหนักหลังคาที่สวยงามอลังการ ด้านในสุดมีพระประธานสีทองสุกปลั่งองค์ใหญ่เกือบเต็มพระอุโบสถ ผนังด้านหลังตกแต่งด้วยลายธรรมจักร ส่วนด้านนอกใช้กระจกสีประดับเป็นภาพต้นไม้แห่งชีวิตบนพื้นโบสถ์ที่ลงรักสีแดงเข้มเอาไว้
รายรอบพระอุโบสถนั้นมีอาคารอีกหลายหลัง แต่ฉันหลงรักวิหารเล็กๆหลังหนึ่ง ซึ่งบางคนเรียกว่า วิหารแดง แต่บางคนก็เรียก หอไหว้สีกุหลาบ เพราะวิหารแห่งนี้มีรูปทรงสวยงามแปลกตาและตกแต่งอย่างวิจิตร โดยผนังภายนอกทั้งหมดปูพื้นสีปูนแดงอมชมพู ซึ่งอาจจะเรียกว่าสีกุหลาบก็ได้ แล้วก็ประดับกระจกสีเป็นภาพเรื่องราวต่างๆ แสดงวิถีชีวิตชาวบ้านตลอดผนังทั้ง 4 ด้าน แม้แต่คันทวยก็ฉลุเฉลาและปิดทองอย่างประณีตงดงาม นับเป็นงานฝีมือช่างชั้นเอกของหลวงพระบางทีน่าชื่นชมอย่างที่สุด กระจกที่ใช้ประดับเป็นกระจกสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่แซมด้วยสีเหลือง เขียว ขาว ม่วง ดำ แดง ที่ใช้ประดับวิหารสีกุหลาบนี้ให้ภาพลอยตัวที่สวยงามสะดุดตา จัดวางองค์ประกอบได้อย่างสมบูรณ์แบบและดึงดูดใจ ไม่ว่าจะเป็นภาพคน ชาย หญิง ช้าง ม้า วัว ควาย ดอกไม้ ต้นไม้ บ้านเรือน แม่น้ำ ภูเขา ที่สร้างเรื่องราวของขนบธรรมเนียมประเพณีในชีวิตพื้นบ้านจริงของคนหลวงพระบาง
รายรอบพระอุโบสถนั้นมีอาคารอีกหลายหลัง แต่ฉันหลงรักวิหารเล็กๆหลังหนึ่ง ซึ่งบางคนเรียกว่า วิหารแดง แต่บางคนก็เรียก หอไหว้สีกุหลาบ เพราะวิหารแห่งนี้มีรูปทรงสวยงามแปลกตาและตกแต่งอย่างวิจิตร โดยผนังภายนอกทั้งหมดปูพื้นสีปูนแดงอมชมพู ซึ่งอาจจะเรียกว่าสีกุหลาบก็ได้ แล้วก็ประดับกระจกสีเป็นภาพเรื่องราวต่างๆ แสดงวิถีชีวิตชาวบ้านตลอดผนังทั้ง 4 ด้าน แม้แต่คันทวยก็ฉลุเฉลาและปิดทองอย่างประณีตงดงาม นับเป็นงานฝีมือช่างชั้นเอกของหลวงพระบางทีน่าชื่นชมอย่างที่สุด กระจกที่ใช้ประดับเป็นกระจกสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่แซมด้วยสีเหลือง เขียว ขาว ม่วง ดำ แดง ที่ใช้ประดับวิหารสีกุหลาบนี้ให้ภาพลอยตัวที่สวยงามสะดุดตา จัดวางองค์ประกอบได้อย่างสมบูรณ์แบบและดึงดูดใจ ไม่ว่าจะเป็นภาพคน ชาย หญิง ช้าง ม้า วัว ควาย ดอกไม้ ต้นไม้ บ้านเรือน แม่น้ำ ภูเขา ที่สร้างเรื่องราวของขนบธรรมเนียมประเพณีในชีวิตพื้นบ้านจริงของคนหลวงพระบาง
และเมื่อวิหารหลังน้อยต้องแสงอุษายามแรกอรุณ ยิ่งงามจับตามลังเมลือง ทอประกายสะท้อนพลังศรัทธาในพุทธศาสนาออกมาอย่างวาววาม
ใครเห็นภาพอย่างนี้ก็คงรู้สึกหลงรักหอไหว้สีกุหลาบนี้จับใจ และแม้จะดึงเวลาอ้อยอิ่งดูรายละเอียดอยู่เป็นนานก็รู้สึกว่ายังไม่จุใจเลย
ใครเห็นภาพอย่างนี้ก็คงรู้สึกหลงรักหอไหว้สีกุหลาบนี้จับใจ และแม้จะดึงเวลาอ้อยอิ่งดูรายละเอียดอยู่เป็นนานก็รู้สึกว่ายังไม่จุใจเลย
มนต์เสน่ห์ของแสงอุษาในหลวงพระบางนี้ช่างจับตาจับใจ …
ขอขอบคุณ มติชน
English to Serbian Translation
ReplyDeleteEnglish to Bulgarian Translation
English to Danish Translation